เคล็ดลับ เทคนิคการเลือกหญ้าเทียม Artificial Grass
ในช่วงนี้หลายๆคนคงจะอยู่บ้านกันมากขึ้นไม่ออกไปไหน เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด โควิด-19 และหลายๆคนคงจะมีเวลาว่างมากขึ้นในการดูแลเอาใจใส่ที่พักอาศัยกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮาส์ แฟลตหรืออพาร์ทเม้นท์ในแต่ละที่ก็จะมีพื้นที่ใช้สอยแตกต่างกันออกไป แต่เชื่อว่าส่วนใหญ่แล้วที่พักอาศัยของแต่ละคนก็จะมีพื้นที่ว่างๆไว้สำหรับทำพื้นที่สีเขียว เล็กใหญ่ที่ต่างกันออกไป เอาไว้นั่งรีแลกซ์ ผ่อนคลายยามว่าง หลังเลิกงาน วันหยุดที่ไม่ได้ออกไปไหน หรือไม่ว่าจะเป็นการอยู่บ้านเพื่อชาติอย่างช่วงสถานการณ์โรคระบาด โควิด-19 ในตอนนี้ การจัดพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมยามว่างกับครอบครัว หรือเพื่อนก็เป็นการช่วยให้ผ่อนคลายได้มากขึ้น
การจัดสวนเพิ่มพื้นที่สีเขียวหน้าบ้านเป็นส่วนหนึ่งของบ้านหลายๆคน ที่ไม่ว่าใครก็ต้องการให้พื้นที่ส่วนนั้นดูดีร่มรื่นขึ้น การเลือกวัสดุตกแต่งบ้าน อย่างเช่น ปูหญ้าเทียมหน้าบ้านจึงเป็นที่นิยมกันมากขึ้น และเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นนั่นเอง
หลายๆคนอาจรู้จักกันแล้วว่าหญ้าเทียมคืออะไร มีประโยชน์ยังไง คุ้มทุนหรือไม่ถ้าจะลงทุนติดตั้งหญ้าเทียม ปูพื้นหญ้าเทียม แทนการปลูกหญ้าจริงจัดสวนหน้าบ้าน แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จัก หรือกำลังศึกษาอยู่นั้น บอกเลยว่าวันนี้ ร้านขายหญ้าเทียม DGRASS ของเรามีเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับหญ้าเทียม มานำเสนอ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่ทุกท่านได้ทำความรู้จักหญ้าเทียมให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิธีการเลือกสเปคหญ้าเทียมอย่างเหมาะสม วิธีติดตั้งแบบละเอียดทุกขั้นตอน คุณสมบัติของหญ้าเทียม รวมถึงเคล็ดลับ ประโยชน์ ข้อดี ต่างๆของหญ้าเทียม
1. คุณสมบัติหญ้าเทียม
การปูจัดสวนด้วยหญ้าเทียมนั้นเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาหญ้าจริงไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำในการรดหญ้าต่อเดือน ค่าบริการตัดหญ้าเล็มหญ้า บางท่านปลูกหญ้าจริงแล้วไม่ติดซื้อมาปลูกแล้วปลูกอีก ก็ยังไม่ทำให้สนามเขียวขจีขึ้นมาได้แห้งตายหมด ร้านหญ้าเทียม DGRASS เลยอยากแนะนำให้ท่านทั้งหลายลองหันเปลี่ยนมาปูหญ้าเทียมดูสักครั้ง ซึ่งหญ้าเทียมของเราที่ไม่ต้องการการดูแลรักษาอะไรเลย ไม่เปลืองน้ำ ไม่เปลืองค่าใช้จ่าย ต่างๆนานา ให้ปวดหัวเลย แถมหญ้าเทียมยังเคลือบสารป้องกันแสง UV ที่ช่วยให้มีอายุการใช้งานยาวนานมากขึ้นนอกจากวัสดุที่ทนทานอยู่แล้ว
2.เคล็ดลับในการเลือกสเปคหญ้าเทียม
วัสดุที่ใช้ในการผลิตหญ้าเทียมจะมี 2 ชนิดด้วยกัน คือ PP และ PE โดยวัสดุ PPส่วนใหญ่จะใช้ทำพื้นหลังของหญ้าเทียม และ PE จะใช้ทำเส้นใบหญ้าเทียมซึ่งจะมีหลายสีที่แตกต่างกันออกไปไม้ว่าจะเป็นสีเขียวเข้ม สีเขียวอ่อน สีน้ำตาล เพื่อให้การผลิตหญ้าเทียมให้มีสีที่สมจริงธรรมชาติมากยิ่งขึ้นจึงมีสีน้ำตาลแซมให้เหมือนหญ้าแห้งที่ตายแล้วอยู่ตรงโคนของใบหญ้าเทียมอีก หรือถ้าหากใครไม่ชอบแบบที่มีสีน้ำตาลแซม ทางร้านหญ้าเทียม DGRASS ของเรา ก็มีสีเขียวล้วน ที่มีสีเขียวเข้มสลับสีเขียวอ่อน ให้ดูสดใสเหมือนต้นไม้ใบหญ้าในฤดูฝนที่เขียวชอุ่มตลอดเวลา นอกจากสีที่เลือกตามความชอบแล้ว จะต้องเลือกดูว่าหญ้าเทียมมีรูระบายน้ำ กันแสง UV มั้ย และเลือกดูสเปคที่เจาะลึกลงไปอีกนั่นก็คือ อัตราการเย็บมีกี่ฝีเข็ม ให้พลิกดูพื้นหลังแล้วเอาไม้บรรทัดทาบลงไปในแนวยาวตามฝีเข็มจะเห็นเป็นกระจุกของใบหญ้าให้ท่านดูว่าใน 10cm. มีกระจุกหญ้ากี่กระจุก ถ้ายิ่งเยอะความหนาแน่นของใบหญ้าเทียมก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น และที่สำคัญการเลือกดูอายุการใช้งานของหญ้าเทียมที่ยาวนานจะต้องดูตรงไหน ให้ท่านดูตรง DTEX ถ้าหาก DTEX มีจำนวนที่มากนั้นก็คือความแข็งแรงทนทานของเส้นใบหญ้า ยิ่งมากความแข็งแรงทนทางก็จะยิ่งเยอะ แต่ถ้าหากมากไปก็จะทำให้เส้นใบหญ้าของรุ่นนั้นๆมีความแข็งไม่นุ่มเท่าไหร่ ทางร้านหญ้าเทียม DGRASS ของเราจึงมีหญ้าเทียมหลากหลายรุ่นที่เหมาะแก่ความต้องการของลูกค้าแต่ละท่าน
3. ประโยชน์ของหญ้าเทียม ข้อดี
ข้อดีของการปูหญ้าเทียม
3.1. หญ้าเทียมช่วยป้องกันอุบัติเหตุ ลดแรงกระแทรก ในพื้นที่ที่มีเด็ก
3.2. เพิ่มความสวยงามให้พื้นที่ว่างให้สวนสวยขึ้น
3.3. การปูหญ้าเทียมช่วยประหยัดเวลาในการดูแลรักษา
3.4. หญ้าเทียมราคาถูกประหยัดงบกว่าการปลูกหญ้าจริง
3.5. หญ้าเทียมมีความทนทาน แข็งแรง มีอายุการใช้งานยาวนาน
3.6. การปูหญ้าเทียมใช้ปูแทนพรมได้
3.7. หญ้าเทียมมีสีสันสดใสสวยงามให้ความรู้สึกสดใสผ่อนคลาย รื่นรมย์ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ
3.8. หญ้าเทียมมีสีสันสวยงาม สมจริง
3.9. การปูหญ้าเทียมสำหรับร้านอาหาร ร้านกาแฟ คาเฟ่ ต่างๆ สร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้า หรือสร้างความสะดุดตาให้กับผู้ผ่านไปมา ลูกค้าเข้ามาแวะเวียนอุดหนุนและถ่ายรูปกันมากขึ้น
3.10. หญ้าเทียมช่วยปรับภูมิทัศให้มีความสง่า และมีเสน่ห์มากขึ้น
3.11. หญ้าเทียมช่วยปรับสร้างฮวงจุ้ยได้
ข้อเสียของการปูหญ้าเทียมจริงๆนั้นมีเพียงข้อเดียว คือ ตอนกลางวันเมื่อมีแดดจัดๆท่านไม่ควรถอดรองเท้าเดินบนหญ้าเทียม หญ้าเทียมจะอมความร้อนสูงเพราะหญ้าเทียมผลิตจากพลาสติก ทำให้ร้อนมาก ถอดรองเท้าเดินอาจทำให้เท้าของท่านพองได้
4. วิธีติดตั้งหญ้าเทียม
4.1. การปูบนพื้นซีเมนส์หรือพื้นแข็งอื่นๆ
หากพื้นที่ของท่านมีระดับความสูงต่อเนื่องเท่ากัน สามารถปูหญ้าเทียมเองได้อย่างง่ายๆ
4.1.1.วางลายหญ้าเทียมตามตำแหน่งที่ท่านต้องการ โดยมักจะให้หันลายปลายหญ้าเทียมให้ออกไปจากจุดที่ท่านนั่งเล่นประจำหรือจุดที่ท่านเห็นหญ้าประจำ จากนั้นดึงให้ตึงอย่าให้ย่น การตัดหญ้าเทียมให้พลิกด้านหลังแล้วใช้มีดคัดเตอร์กรีดลงบนพื้นหลังของหญ้าเทียม
4.1.2.ปูหญ้าเทียม โดยวางหญ้าเทียมในพื้นที่ส่วนที่ปูง่าย เช่น เป็นสี่เหลี่ยมนำหญ้าเทียมวางเต็มผืนไปก่อน ส่วนที่เป็นโค้งมนหรือต้องตัดเข้ารูปต่างๆ เช่น ต้นไม้ มุมโค้งต่างๆ ให้ทำขั้นตอนหลัง
4.1.3.กรณีต่อผืนหญ้าเทียม เพื่อต่อให้หญ้าเทียมทั้งหมดดูเป็นผืนใหญ่ผืนเดียวกันดังนี้ เริ่มจากเอาแผ่นที่สองมาประกบแผ่นแรกโดยที่จะต้องหันลายหญ้าเทียมไปทางเดียวกับแผ่นแรก จากนั้นก็สามารถต่อผืนหญ้าเทียมโดย มี 2 วิธี คือ แบบต่อทับเลย และ แบบใช้ joint tape ดังนี้
แบบต่อทับเลย
หญ้าเทียมหน้ากว้าง 2 เมตรนั้น สังเกตได้ว่าด้านนึงจะเป็นหญ้าเต็ม อีกด้านนึงจะเห็นแผ่นรองพื้นก่อนถึงหญ้าเทียม เมื่อจะต่อหญ้าเทียมให้นำแผ่นฝั่งใบหญ้าเต็มมาทับบนแผ่นรองพื้นของอีกแผ่น แต่อย่าให้ไปทับเลยถึงใบหญ้าของอีกแผ่นเพราะจะทำให้รอยต่อดูสูงขึ้น เมื่อวางตำแหน่งรอยต่อเรียบร้อยใบหญ้าไม่เกยกันแล้วสุดท้ายจึงทากาวยางหรือกาวพียูลงด้านบนแผ่นรองพื้น แล้วติดทับอีกแผ่นลงไป
แบบใช้ joint tape
นำ joint tape ขนาด 30 ซม. วางใต้แผ่น 2 แผ่นที่ต้องการต่อกัน เมื่อจัดวางตำแหน่งรอยต่อดีแล้วดูต่อเนื่องกัน สุดท้ายทากาวยางหรือกาวพียูลงบนแผ่น joint tape แล้วนำหญ้าที่จะต่อกันติดลงไป กรณีนี้ต้องใช้ joint tape เพิ่มแต่ก็จะทำให้รอยต่อหญ้าดูเรียบขึ้น
4.1.4.ขั้นตอนสุดท้ายหลังจากปูหญ้าเทียมเต็มพื้นที่แล้ว จากนั้นทากาวที่พื้นและที่ด้านล่างแผ่นผืนหญ้า โดยทาเฉพาะริมเส้นรอบพื้นที่โดยมีความหนาเข้ามาประมาณ 10 ซม. ทาช้าๆระวังอย่าให้กาวเลอะหญ้าเทียม ทาต้องทาทั้งที่พื้นและด่านล่างแผ่นผืนหญ้าพอประกบกันจึงจะยึดติดกันดี
4.2. กรณีเป็นพื้นดิน
ขั้นตอนการปูคล้ายๆกันแต่จะต้องมีการปรับหน้าดินให้เรียบเหมาะสมเสียก่อน กรณีหน้าดินมีหญ้าจริงแห้งตายปกคลุมอยู่ให้ถางหญ้าจริงทิ้งไป กรณีดินอยู่ตัวแล้วแค่ปรับพื้นผิวให้เรียบเพื่อรองรับการปูหญ้าเทียมต่อไป กรณีดินใหม่ยังไม่อยู่ตัวต้องปรับผิวหน้าโดยทรายและกรวด โดยการลงกรวดให้หนาประมาณ 5cm. แล้วบดอัดให้แน่นแล้วจึงลงทรายทับหน้าบางๆหนาประมาณ1-2cm.แล้วบดอัดให้แน่นเพื่อให้พื้นผิวแข็งแรง ก่อนปูหญ้าเทียมควรปูแผ่นพลาสติกคลุมดินกันวัชพืชขึ้นแซมหญ้าเทียมตามรูระบายน้ำ การยึดแผ่นพื้นโดยรอบจะใช้ตะปูหมวกยาว 3นิ้วขึ้นไป หรือจะใช้สมอบกรูปตัว U ยึดแผ่นหญ้าเทียมลึกลงไปในดินโดยตอกที่ระยะ 50 ซม. หรือมากน้อยกว่านั้นตามลักษณะพื้นที่
4.3. กรณีเป็นพื้นกระเบื้อง
การปูหญ้าเทียมบนพื้นกระเบื้อง จะปูเหมือน การปูบนพื้นซีเมนส์หรือพื้นแข็งอื่นๆ ตาม ข้อ5.1. แต่จะเปลี่ยนจากการทากาวยางหรือกาวพียู มาใช้เป็น เทปกาว 2หน้า สำหรับติดตั้งหญ้าเทียมแทน เพื่อหากอนาคตท่านไม่ต้องการปูหญ้าเทียมแล้วจะได้รื้อออกง่ายและไม่ทำให้พื้นกระเบื้องของท่านเลอะกาว
เขียนโดย บุ๋ม DGRASS